แนะนำวิสัญญีแพทย์ : แพทย์หญิงลีอึยมิน (Lee Eui Min)
แพทย์จากโรงพยาบาลศัลยกรรม JW
(JW PLASTIC SURGERY)
มีความเชี่ยวชาญด้านวิสัญญีวิทยา
“อยากสวยแต่กลัวเจ็บ” หรือ “อยากสวยแต่ก็กลัวตาย” ถือเป็นความคิดของคนนอกวงการที่มีความคิดว่าการศัลยกรรมอัตรายและเสี่ยงตาย ยิ่งคนไข้ที่เข้ารับการศัลยกรรมมีโรคประจำตัวความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวเช่นกัน
เมื่อฟังถึงตรงนี้หลายคนคงล้มเลิกที่จะทำศัลยกรรมแทบจะทันทีเลยทีเดียว แต่เดี๋ยวก่อนค่ะ อย่าพึ่งตื่นตูมกันไป รู้หรือเปล่าว่า 90% ของการเสียชีวิตขณะทำศัลยกรรมนั้น มีสาเหตุหลักมาจาก การดมยาสลบที่ไม่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้น ความสามารถและประสบการณ์ของศัลยแพทย์ที่ทำการศัลยกรรมอย่างเดียวคงไม่พอ การมีวิสัญญีแพทย์ที่สามารถสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้แก่ผู้เข้ารับการรักษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเช่นกัน วิสัญญีแพทย์จึงมีความสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้แก่คนไข้ทุกคนให้ได้รับความสบายใจในทุกการผ่าตัดศัลยกรรมนั่นเอง
โดยทั่วไปแล้ว วิสัญญีแพทย์ที่เราเคยได้ยินผ่านหู คือเป็นเพียงแพทย์ที่ทำการวางยาสลบคนไข้เท่านั้น ทว่า ความจริงแล้ว วิสัญญีแพทย์นั้น ก็มีความสำคัญต่อการผ่าตัดเป็นอย่างมาก โดยวิสัญญีแพทย์จะคอยดูแลตั้งแต่การพิจารณาการให้ยาตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ไปจนถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อวางแผนการผ่าตัดเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับคนไข้ได้
บอกเลยว่าวิสัญญีแพทย์นั้นสำคัญมาก ๆ และเราได้เจอวิสัญญีแพทย์มากฝีมือท่านหนึ่ง นั่นคือวิสัญญีแพทย์ ดร.ลีอึยมิน(Lee Eui Min) วิสัญญีแพทย์ประจำโรงพยาบาลศัลยกรรมเจดับเบิลยู (JW PLASTIC SURGERY) นั้นเอง
ประวัติโดยคร่าวของ วิสัญญีแพทย์ ดร.ลีอึยมิน (Lee Eui Min)
ดร.ลีอึยมิน เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญีวิทยาประจำโรงพยาบาลศัลยกรรมเจดับเบิลยู (JW PLASTIC SURGERY) ที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากศัลยแพทย์ของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมทำการรักษา โดยดร.ลีอึยมิน นั้นมีประสบการณ์ทำงานในฐานะวิสัญญีแพทย์ที่คอยดูแลความปลอดภัยแก่คนไข้มาตลอด 18 ปี ซึ่งอยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการศัลยกรรมในทุก ๆ ครั้ง เพราะความสวยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ
ประวัติการศึกษาของ ดร.ลีอึยมิน
จบการศึกษา Ewha Womans University, Medical School
จบหลักสูตร Anesthesiology Resident ณ Ewha Womans University Mokdong Hospital
ตำแหน่งและประสบการณ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาวิสัญญีวิทยา ณ Ewha Womans University College of Medicine และ Graduate Medical School
สมาชิก (Korean Society of Anesthesiologists)
สมาชิก (Korean Society for Anesthetic Phramacology
สมาชิก (Korean Society of Cardiothoracic and Vascular Anesthesiologists)
สมาชิก (Korean Pain Society)
นอกจากนี้ ดร.ลีอึยมิน ยังได้เขียนและตีพิมพ์เอกสารทางการแพทย์จำนวนมากใน Korean Journal of Anesthesiology ซึ่งเป็นวารสารวิสัญญีวิทยาของเกาหลีนั่นเอง
วิสัญญีวิทยา (Anesthesiologist)
“วิสัญญีแพทย์” หรือที่เราจะรู้จักในชื่อ “หมอดมยา” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้ยาชาและยาสลบ ที่เราจะเห็นว่ามักทำงานร่วมกับแพทย์ผู้ผ่าตัด เพื่อระงับความรู้สึกเจ็บปวดของคนไข้ก่อนทำการผ่าตัดเพียงชั่วคราว จะแวบไปแวบมาตลอดการผ่าตัดเพื่อเข้ามาเช็คความปลอดภัยของคนไข้อยู่เสมอ
ที่เราบอกว่าแวบไปแวบมานั้น ก็เพราะหน้าที่ของวิสัญญีแพทย์ไม่ใช่แค่วางยาสลบและจากไปเพียงเท่านั้นนะคะ เพราะหน้าที่หลัก ๆ ของทีมวิสัญญีแพทย์นั้นมีถึง 3 หน้าที่ทีเดียว นั่นก็คือ
ก่อนผ่าตัด : วิสัญญีแพทย์จะทำหน้าที่ในการวางแผนเกี่ยวกับการให้ยาระงับความรู้สึกของผู้ป่วย โดยจะให้ยาตามความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และเตรียมความพร้อมเพื่อวางแผนการผ่าตัดด้วยการพูดคุย ซักประวัติ รวมทั้งเช็คผลการตรวจร่างกายโดยรายละเอียดอีกด้วย
ระหว่างผ่าตัด : ระหว่างการผ่าตัดผู้ป่วยจะได้รับการระงับความรู้สึกโดยวิธีดมยาสลบ หรือฉีดยาชาตามความเหมาะสมตามเคสของคนไข้แต่ละราย โดยวิสัญญีแพทย์จะต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยตลอดระยะเวลาการผ่าตัด พร้อมกับทำหน้าที่ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจความดันโลหิต และตรวจเช็คความปกติของระดับออกซิเจน ตลอดจนเฝ้าดูความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือและแก้ไขจนกว่าจะได้รับความปลอดภัยกระทั่งการผ่าตัดเสร็จสิ้น
หลังผ่าตัด : หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้น ผู้ป่วยจะถูกเคลื่อนย้ายไปยังห้องสังเกตอาการประมาณ1-2 ชั่วโมง โดยมีวิสัญญีแพทย์ดูแลตรวจเช็คตามขั้นตอนเพื่อความปลอดภัย จากนั้นจึงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปพักฟื้นยังห้องพัก ซึ่งวิสัญญีแพทย์ยังคงต้องติดตามอาการผู้ป่วยต่ออีกระยะหนึ่ง เพื่อให้การช่วยเหลือในกรณีที่ยังรู้สึกปวดจากการผ่าตัด
โดยวิธีระงับความรู้สึกที่วิสัญญีแพทย์จะใช้บ่อย ๆ และปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยจะมีอยู่ 2 แบบ คือ
การใช้ยาชา (Local Anesthetics): เป็นยาที่ใช้ระงับความรู้สึกเฉพาะที่ด้วยการฉีดยา พ่นยา หรือทายาชาในบริเวณนั้น ยาชาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการกระตุ้นปลายประสาท หรือกีดขวางการส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทส่วนปลายที่จะทำให้เกิดความรู้สึกได้
การดมยาสลบ: เป็นยาที่วิสัญญีแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญใช้ เพื่อให้ผู้ป่วยหลับ ไปจนถึงหมดสติ ไม่รู้สึกตัว เพื่อประโยชน์ต่อขั้นตอนการรักษา ซึ่งยาสลบก็จะมีทั้งรูปแบบก๊าซและรูปแบบยาฉีด โดยรูปแบบก๊าซนั้นจะให้ผู้ป่วยสูดดมผ่านทางหน้ากากหรือท่อช่วยหายใจ ส่วนประเภทยาฉีด ส่วนมากจะนิยมฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
เคสรีวิวจริงจากคนไข้ของวิสัญญีแพทย์ ลีอึยมิน (Lee Eui Min)
บอกเลยว่าวิสัญญีแพทย์เป็นอะไรที่สำคัญมาก เพราะคงไม่มีใครอยากมาเสี่ยงตายกับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองหรอกจริงไหม เราจึงมีเคสการผ่าตัดมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ
เคสของเอมิลี่ ที่ปรึกษาภาษาอังกฤษ ฝ่ายต่างประเทศของโรงพยาบาล เจดับเบิลยู( JW PLASTIC SURGERY )
โดยคุณเอมิลี่ต้องการเข้ารับการศัลยกรรมหลายจุดเพื่อแก้ไขปัญหาที่สะสมอย่างต่อเนื่องมาหลายปี เธอจึงมีความต้องการทำศัลยกรรมหลายจุดภายในวันเดียว โดยอย่างแรกเธอต้องการรักษาคือ
ศัลยกรรมแก้ไขหนังตาตก โดยศัลยแพทย์ชเวฮงริม ซึ่งเป็นเคสที่คนไข้มีเปลือกตาที่ดูเหนื่อยตลอดทั้งวัน อีกทั้งเปลือกตาส่วนบนจมลงไปด้านใน เนื่องจากการสูญเสียไขมันเพราะอายุที่มากขึ้น
ศัลยกรรมปลูกถ่ายไขมันบนใบหน้ากับศัลยแพทย์คังฮงแด เนื่องจากไขมันบนใบหน้าหายไปจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ใบหน้าซูบตอบ ดูเหนื่อยล้าตลอดเวลา
แก้ไขจมูกโดยศัลยแพทย์ซอมันกุน เพื่อแก้ไขปลายจมูกที่เชิดขึ้นเกินไป
และเนื่องจากเป็นการศัลยกรรมหลายจุด คุณเอมิลี่จึงรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดระหว่างการผ่าตัดที่ยาวนาน แต่เธอก็หายกังวลใจในที่สุด เพราะด้วยศัลยแพทย์ของเรามีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ผลการผ่าตัดจึงเป็นธรรมชาติ และที่สำคัญที่สุดที่เธอรู้สึกประทับใจคือ ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เลยแม้แต่น้อย เพราะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากวิสัญญีแพทย์ของเราดร.ลีอึยมิน ที่มีประสบการณ์มานานถึง 18 ปี มารับรองความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้ป่วยทุกคน
ซึ่งคนไข้หลายคนก็มักได้รับการผ่าตัดหลายครั้งในวันเดียวกัน ซึ่งอาจส่งผลให้การผ่าตัดครั้งเดียวใช้เวลานานหลายชั่วโมง ดร. ลีอึยมินจึงได้รับรองไว้แล้วว่าการดำเนินการที่ 'ต่อเนื่องกัน' เหล่านี้จะดำเนินไปด้วยความปลอดภัยอย่างแน่นอน
ติดตามโปรโมชั่นศัลยกรรมเกาหลีได้ที่
LINE : @oppame หรือ www.connextchat.com/oppame
Website : www.oppame.com
Comments